สามารถเรียนที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ตลอดชีพ
เนื้อหาทั้งหมด 56 วิดีโอ ความยาวรวมกัน 11 ชั่วโมง 1 นาที
มีไฟล์ให้ดาวน์โหลด
แบบทดสอบทั้งหมด 4 แบบทดสอบ
ข้อสอบทั้งหมด 1 ข้อสอบ
เก็บหน่วยกิตเรียนปริญญาโท
ประกาศนียบัตร
ศึกษาแนวทางและหลักการพื้นฐานของ 'การวิจัยทางการศึกษา' ฝึกคิด วิเคราะห์ในเชิงของการถกเถียงด้วยเหตุและผลบนพื้นฐานของข้อมูล ต่อยอดจากองค์ความรู้เดิมสู่การสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ
ศึกษาแนวทางและหลักการพื้นฐานของ 'การวิจัยทางการศึกษา' ผู้เรียนจะได้ฝึกคิด วิเคราะห์ในเชิงของการถกเถียงด้วยเหตุและผลบนพื้นฐานของข้อมูลโดยมีแบบแผนที่แน่ชัด น่าเชื่อถือ และเที่ยงตรง ต่อยอดจากองค์ความรู้เดิมสู่การสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างยั่งยืน
ที่ผ่านมาเราอาจจะเคยได้ยินถึงข้อมูลที่หลากหลายและแนวคิดต่าง ๆ ที่ครั้งหนึ่งเคยมีคนบอกว่านั่นคือแนวทางการปฏิบัติ แต่ในฐานะของนักการเรียนรู้ หนึ่งในบทบาทที่สำคัญคือการเป็นผู้ตั้งคำถามและแสวงหาคำตอบ ในวิชานี้ผู้เรียนจะได้ฝึกคิด วิเคราะห์ในเชิงของการถกเถียงด้วยเหตุและผลบนพื้นฐานของข้อมูลโดยมีแบบแผนที่แน่ชัด น่าเชื่อถือ และเที่ยงตรง ต่อยอดจากองค์ความรู้เดิมสู่การสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างยั่งยืน
สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้
- แนวทางในการแสวงหาความรู้
- กระบวนทัศน์ในการทำวิจัย
- การหาประเด็นและการทบทวนวรรณกรรม
- การตั้งคำถามวิจัย
- กรอบต่าง ๆ ในการงานทำวิจัย Frameworks
- การวิจัยเชิงคุณภาพเบื้องต้น
- การวิจัยเชิงปริมาณเบื้องต้น
- จริยธรรมวิจัยในคน
- การเขียนรายงานวิจัย
ผู้เรียนต้องมีความรู้อะไรมาก่อนหรือไม่
- คอร์สนี้เหมาะสำหรับทุกคน ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านใดมาก่อนก็เรียนได้
ประเภทของคอร์ส
(C) คอร์สนี้เป็นคอร์สบังคับ (Core Course) ของหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา Learning Innovation ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ SkillLane
การคำนวณเกรด
คอร์สนี้ประกอบด้วย 1. แบบทดสอบ (Quiz) คิดเป็น 40% ของเกรด และ 2. ข้อสอบไฟนอล (Final Exam) คิดเป็น 60% ของเกรด โดยการตัดเกรดเป็นดังนี้
A 90-100
A- 85-89.99
B+ 80-84.99
B 75-79.99
B- 70-74.99
C+ 65-69.99
C 60-64.99
D 50-59.99
F 0-49.99
ประวัติวิทยากร
อาจารย์ ผศ.ดร.ธิดา ทับพันธุ์
ปัจจุบันอาจารย์ธิดาดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มีความเชี่ยวชาญทางด้านการเรียนร่วมของเด็กพิเศษในสังคมและระบบการศึกษา การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กเรียนช้า (การอ่านและเลข) และความหมาย ความเข้าใจ และความเชื่อเกี่ยวกับความพิการ
อาจารย์ธิดาจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านการศึกษาปฐมวัย จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท Special Education จาก University of Wisconsin ที่เมือง La Cross ประเทศสหรัฐอเมริกาและปริญญาเอก Special Education จาก University of Wisconsin ที่เมือง Madison ประเทศสหรัฐอเมริกา
อาจารย์ ผศ.ดร.ไอยเรศ บุญฤทธิ์
ปัจจุบันอาจารย์ไอยเรศดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มีความเชี่ยวชาญทางด้านวัฒนธรรมศึกษา คติชนวิทยา มานุษยวิทยา มานุษยวิทยาดนตรี ชาติพันธุ์ศึกษาและการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา
อาจารย์ไอยเรศจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านวิชาการสอนเฉพาะ (เกียรตินิยมอันดับ 2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท ด้านวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลและปริญญาเอก ด้านวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย