รายละเอียดคอร์ส



Digital Economics เศรษฐศาสตร์ดิจิทัล - เรียนรู้พื้นฐานเศรษฐศาสตร์ วิธีคิดเชิงเศรษฐศาสตร์ทั้งภาคทฤษฎีและกรณีศึกษาต่าง ๆ ไปจนถึงแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในยุคดิจิทัล

ไขความลับของ Digital Economics เศรษฐกิจดิจิทัล เทคโนโลยีที่เปลี่ยนโลกธุรกิจ ศึกษาวิธีคิดเชิงเศรษฐศาสตร์ทั้งภาคทฤษฎีและกรณีศึกษาต่าง ๆ ไปจนถึงแนวคิดของ Digital Economics

ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิตของเราในทุกวัน ซึ่งช่วยให้การใช้ชีวิตของเราง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น สะดวกสบายขึ้น ในแง่มุมทางด้านเศรษฐกิจก็เช่นเดียวกัน เทคโนโลยีดิจิทัลคือเครื่องมือที่สำคัญที่ช่วยสร้างศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจให้กับประเทศของเรา ทั้งในด้านการวางแผนจัดการในระดับประเทศหรือในระดับโลก เศรษฐศาสตร์ในยุคดิจิทัล (Digital Economics) ยังคงมีหัวใจหลักของเศรษฐศาสตร์ ที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการของเราที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด แต่เพิ่มเติมด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเสริมกำลังให้เกิดความแข็งแกร่ง และการปรับตัวให้ทันกับนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจทั้งในรูปแบบจุลภาพและมหภาค

สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้
ส่วนที่ 1 พื้นฐานเศรษฐศาสตร์ ในส่วนนี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นความหมายของเศรษฐศาสตร์ ไปจนถึงตัวบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศในรูปแบบต่างๆ ไปจนถึงเรื่องของเศรษฐศาสตร์มหภาค

ส่วนที่ 2 วิธีคิดเชิงเศรษฐศาสตร์ ในส่วนนี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและ case study ตัวอย่างที่อัดแน่น เกี่ยวกับวิธีคิดเชิงเศรษฐศาสตร์ อาทิ ทางเลือกและการแลกเปลี่ยนค่าเสียโอกาส ความสัมพันธ์ของอุปสงค์อุปทาน เส้นความเป็นไปไปได้ในการผลิต การตั้งราคา เป็นต้น

ส่วนที่ 3 แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในยุคดิจิทัล ส่วนสุดท้ายนี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่คิดขึ้นในแง่มุมของเศรษฐศาสตร์ที่เกิดจาก Digital Disruption การปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจเข้าสู่ New business model อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงการสร้างกลยุทธ์ให้ Platform ของคุณได้เปรียบในยุคดิจิทัลนี้

ผู้เรียนต้องมีความรู้อะไรมาก่อนหรือไม่
- คอร์สนี้เหมาะสำหรับทุกคน ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านใดมาก่อนก็เรียนได้

ประเภทของคอร์ส
(C) คอร์สนี้เป็นคอร์สบังคับ (Core Course) ของหลักสูตรปริญญาโทบริหารธุรกิจ สาขา Business Innovation และหลักสูตรปริญญาโท Data Science for Digital Business Transformation ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ SkillLane

ดังนั้นเมื่อผู้เรียนลงทะเบียนเรียนและสอบผ่านในรายวิชานี้หนึ่งครั้ง ผู้เรียนจะได้รับหน่วยกิตจากทั้งสองหลักสูตร

การคำนวณเกรด
คอร์สนี้ประกอบด้วย 1. แบบทดสอบ (Quiz) คิดเป็น 60% ของเกรด และ 2. ข้อสอบไฟนอล (Final Exam) คิดเป็น 40% ของเกรด โดยการตัดเกรดเป็นดังนี้

A 90-100
A- 85-89.99
B+ 80-84.99
B 75-79.99
B- 70-74.99
C+ 65-69.99
C 60-64.99
D 50-59.99
F 0-49.99

ประวัติวิทยากร
อ.ดร.ณปภัช ปิยไชยกุล 

อาจารย์ณปภัชมีประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจมานานกว่า 10 ปี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริหารให้กับ 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท N S SMART SUPPLY ซึ่งดำเนินการผลิตและอยู่เบื้องหลังเครื่องนอนหลากหลายแบรนด์ บริษัท Organic Coco ซึ่งผลิตและส่งออกใยมะพร้าวปลอดสาร และบริษัท NPSK Intertrade ซึ่งดำเนินการนำเข้าและส่งออกสินค้า นอกจากนี้ยังเป็นอาจารย์พิเศษ ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจ วิศวกรรมไฟฟ้า และสังคมศาสตร์

อาจารย์ณปภัชจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านวิศวกรรมศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จากสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโท ด้านระบบไมโครอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม จาก University of Liverpool และด้านการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ จาก University of Surrey สหราชอาณาจักร และปริญญาเอก ด้าน Electronics & Telecommunications (Image Processing) จากสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เนื้อหาของคอร์ส

ผู้สอน


อ. ดร.ณปภัช ปิยไชยกุล
ไปที่หน้าผู้สอน
  • อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ผู้เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจ วิศวกรรมไฟฟ้า และสังคมศาสตร์
  • ประธานกรรมการบริหาร บริษัท N S SMART SUPPLY
  • ปริญญาเอก ด้าน Electronics & Telecommunications (Image Processing) จากสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ปริญญาโท ด้านระบบไมโครอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม จาก University of Liverpool และด้านการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ จาก University of Surrey สหราชอาณาจักร
  • ปริญญาตรี ด้านวิศวกรรมศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จากสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    ไปที่หน้าผู้สอน
  • สถาบันวิชาการชั้นนำของเอเชีย ที่ได้มาตรฐานสากลในการผลิตบัณฑิต การสร้างองค์ความรู้ และการแก้ปัญหาต่าง ๆ
  • ยึดมั่นในคุณธรรมและการรับใช้ประชาชน ดังคำขวัญของมหาวิทยาลัยที่กล่าวว่า เป็นเลิศ เป็นธรรม ร่วมนำสังคม

  • วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    ไปที่หน้าผู้สอน
  • วิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาในลักษณะสหสาขาวิชาที่ผสานรวมองค์ความรู้ทั้งในด้านการบริหารจัดการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสังคมศาสตร์
  • เน้นแนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์ ส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์นวัตกรรมในการบริหารและการทำงานให้สอดคล้องกับสภาพสังคมและวัฒนธรรมการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ ฯลฯ
  • tuxsa-Digital-Economics
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    Digital Economics เศรษฐศาสตร์ดิจิทัล