เกี่ยวกับหลักสูตร

หลักสูตร Data Science for Digital Business Transformation ได้ถูกพัฒนาขึ้นตามความต้องการของยุคปัจจุบันที่ปริมาณข้อมูลมีการเติบโตอย่างรวดเร็วและเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกภาคส่วน หลักสูตรนี้จะสอนให้ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลมาใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจที่ทรงพลัง และเข้าใจถึงวิธีการในการนำข้อมูลมาวิเคราะห์และคาดการณ์ความเป็นไปได้เพื่อสร้างแต้มต่อและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
นอกจากความรู้และกรณีศึกษาเกี่ยวกับ Data Science หลักสูตรนี้ยังมีองค์ความรู้ที่มุ่งเน้นการสร้างความเชี่ยวชาญในด้านการวางนโยบายและการบริหารจัดการเทคโลยีดิจิทัล เพื่อมุ่งไปสู่การเป็นผู้บริหารขององค์กรที่สามารถนำและปรับองค์กรเข้าสู่ยุคดิจิทัลได้
เรียนแล้วคุณจะสามารถ...
1. เป็นผู้นำที่ตัดสินใจอย่างชาญฉลาด:
สามารถใช้ข้อมูลบริบทที่หลากหลายมาประกอบการตัดสินใจ
2. ส่งมอบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence) ผ่านแนวทางการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล:
สร้างองค์กรหรือวัฒนธรรมของทีมที่สามารถใช้ข้อมูลเพื่อสร้างให้เกิดประโยชน์ทางด้านธุรกิจ
3. สร้างและจัดการนวัตกรรมผ่านวิทยาศาสตร์ข้อมูล:
ใช้ความรู้และทักษะการปฏิบัติของวิทยาศาสตร์ข้อมูลสำหรับการสร้างและจัดการนวัตกรรมในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ...
- ผู้บริหารที่ต้องบริหารจัดการทีมงานด้านเทคนิค โดยนำวิทยาศาสตร์ข้อมูลมาสร้างให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนใช้การข้อมูลเป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจ
- ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนสาขาอาชีพที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล
- วิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญที่ต้องการศึกษาเชิงลึกในภาคทฤษฎี ตลอดจนได้รับทักษะและความเชี่ยวชาญทางการปฎิบัติในด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล
อ่านทั้งหมด

ภาพรวมหลักสูตร

จำนวนคอร์สขั้นต่ำ

20 คอร์ส

ราคา/คอร์ส (เริ่มต้น)

1,500 บาท

เริ่มเรียนได้

สิงหาคม 2562

องค์ประกอบของหลักสูตร

Business

การบริหารธุรกิจ

การนำเทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างนวัตกรรม เพื่อช่วยใน การประเมินโอกาส พัฒนาธุรกิจ และองค์กรให้เกิดความได้เปรียบ ทางการแข่งขัน ตลอดจนการสร้างธุรกิจในรูปแบบใหม่
คอร์สแนะนำ

Digital Transformation

การแปรรูปดิจิทัล

การนำดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการองค์กร ครอบคลุมถึงภาวะ ผู้นำในยุคดิจิทัล การแปรรูปดิจิทัลเพื่อการบริหารจัดการ และการป้องกันภัยคุกคามและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
คอร์สแนะนำ

Data Science

วิทยาศาสตร์ข้อมูล

หลักการคิดเพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ ตามทฤษฎีของวิทยาศาสตร์ข้อมูล ทั้งในด้านเครื่องมือและการจัดการข้อมูล สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสำรวจการสร้างระบบธุรกิจอัจริยะ
คอร์สแนะนำ

สอนโดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

และผู้เชี่ยวชาญพิเศษ

เส้นทางมุ่งสู่ปริญญาโท

โครงสร้างหลักสูตร

ปริญญาโท Data Science

for Digital Business Transformation

รายวิชา

30 หน่วยกิต

วิชาบังคับ 27 หน่วยกิต
(วิชาบังคับก่อนเพื่อ การสอบวัดความรู้ (MQE) = 18 หน่วยกิต)
วิชาเลือก 3 หน่วยกิต

การค้นคว้าอิสระ (IS:Independent Studies) 6 หน่วยกิต

IS1, IS2

ค่าใช้จ่ายทั้งหลักสูตร

(โดยประมาณ)

รายการ
ราคา/คอร์ส
ราคารวม

ลงทะเบียนเรียน

(ไม่เก็บหน่วยกิต)

1,500 บาท

30,000 บาท

(20 คอร์ส, 1.5 หน่วยกิต/คอร์ส)

ลงทะเบียนเพื่อสอบเก็บหน่วยกิต

3,000 บาท

60,000 บาท

(20 คอร์ส, 1.5 หน่วยกิต/คอร์ส)

สอบวัดความรู้ Master Qualifying Exam (MQE)

(ต่อครั้ง)

5,000 บาท

Independent Study (IS)

(6 หน่วยกิต)

48,000 บาท

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

(5,000 บาทต่อเทอม x 2, ทำ IS 2 เทอม)

10,000 บาท

หมายเหตุ
*กรณีใช้เวลาเรียนในรูปแบบนักศึกษา มธ. มากกว่า 2 เทอม อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
**การลงทะเบียน IS ต้องสอบให้ผ่านภายใน 1 ปี (เทอมที่ 2 ต้องเสียค่ารักษาสถานภาพ นศ.) หากไม่ผ่านต้องลงทะเบียนใหม่
***ค่าใช้จ่ายอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

ค่าใช้จ่ายทั้งหลักสูตร

(โดยประมาณ)

เรียนรายวิชา

(ไม่เก็บหน่วยกิต)
ราคา/คอร์ส
ราคารวม

1,500 บาท

30,000 บาท

(20 คอร์ส, 1.5 หน่วยกิต/คอร์ส)

เรียนรายวิชา

(เก็บหน่วยกิต)
ราคา/คอร์ส
ราคารวม

3,000 บาท

60,000 บาท

(20 คอร์ส, 1.5 หน่วยกิต/คอร์ส)

สอบคัดเลือกเพื่อเป็นนักศึกษาปริญญาโท

(ต่อครั้ง)
ราคา

5,000 บาท

การค้นคว้าอิสระ (IS)

(6 หน่วยกิต)
ราคา

48,000 บาท

ค่าบำรุงการศึกษา

(ต่อเทอม)
ราคา

10,000 บาท

รวมทั้งหมด

153,000 บาท

หมายเหตุ
*กรณีใช้เวลาเรียนในรูปแบบนักศึกษา มธ. มากกว่า 1 เทอม อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
**การลงทะเบียน IS ต้องสอบให้ผ่านภายใน 1 ปี (เทอมที่ 2 ต้องเสียค่ารักษาสถานภาพ นศ.) หากไม่ผ่านต้องลงทะเบียนใหม่
***ค่าใช้จ่ายอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

เกี่ยวกับคณะ

วิทยาลัยนวัตกรรม

วิทยาลัยนวัตกรรมถือกำเนิดขึ้นในปี 2538 จากวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ต้องการจะริเริ่ม “สิ่งใหม่” ให้กับวงการศึกษาของไทย และเป็นรูปแบบใหม่ของหน่วยงานในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ได้ปรับเปลี่ยนจากที่จัดตั้งเป็นคณะและภาควิชามาสู่วิทยาลัย (College) และในปีที่ 12 สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีมติให้มีการแก้ไขชื่อ “วิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา” เป็น “วิทยาลัยนวัตกรรม” และเปลี่ยนชื่อตำแหน่งผู้รับผิดชอบการบริหารงานวิทยาลัย จาก “ผู้อำนวยการ” เป็น “คณบดี” เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2551
วิทยาลัยนวัตกรรม เกิดขึ้นจากวิสัยทัศน์ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ได้หยิบยกประเด็นหลัก ๆ 4 ประการ คือ
(1) จะต้องเป็นการศึกษาที่ผสมผสานศาสตร์ทางด้านต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
(2) จะต้องเป็นการศึกษาที่สร้างความเชื่อมโยงระหว่างการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการสังคม
(3) จะต้องส่งเสริมให้มีการสรรค์สร้างนวัตกรรม ตลอดจนสามารถนำทรัพย์สินทางปัญญาออกมาใช้ประโยชน์ได้
(4) จะต้องมีการบริหารจัดการที่เป็นอิสระจากระบบราชการ สามารถร่วมงานกับภาคเอกชนได้อย่างใกล้ชิด